การประเมินมูลค่าบริษัท (Fair Value Valuation) คือ?
การประเมินมูลค่าบริษัท (Fair Value Valuation) คือ การประเมินมูลค่าที่แท้จริงของกิจการ บริษัท เงินลงทุน หรือ ตราสารทุน ในรูปแบบมูลค่ายุติธรรม (Fair Value)
แล้ว มูลค่ายุติธรรม (Fair Value) คือ?
มูลค่าหรือราคาที่จะได้รับจากการขายสินทรัพย์หรือจะจ่ายเพื่อโอนหนี้สินในรายการที่เกิดขึ้นในสภาพปกติระหว่างคู่สัญญาทั้งผู้ที่ร่วมและไม่รวมตลาด ณ วันที่มีการวัดมูลค่า
แล้วทำไมถึงต้องประเมินมูลค่าบริษัท?
หากพูดถึงการเติบโตของธุรกิจนั้นสามารถพิจารณาได้จากหลากหลายปัจจัย อาทิ รายได้ต่อปี กำไรต่อปี ส่วนของผู้ถือหุ้น กำไรสะสม และ ฯลฯ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นแผนการดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัทได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามหากบริษัทกำลังมองหาหนทางการขยายธุรกิจ เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจ หรือแม้แต่แหล่งเงินทุนเพื่อขยายสาขา การอ้างอิงเพียงแค่ส่วนใดส่วนหนึ่งของงบการเงินที่กล่าวมาข้างต้นนั้นอาจจะไม่เพียงพอ
ดังนั้นการประเมินมูลค่าบริษัทนั้นสามารถเพิ่มโอกาสในธุรกิจได้ โดยสามารถแสดงให้เห็นถึง ความสามารถในการดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัท แนวทางการดำเนินธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แบบแผนกลยุทธ์ที่บริษัทจะเลือกใช้ในการพัฒนาและต่อยอดของธุรกิจ หรือแม้แต่การสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงจากราคาทุนด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งบหรือผู้ที่สนใจในการลงทุนอื่น ๆ นั้นสามารถเข้าใจและเห็นเป้าหมายและความสำเร็จไปพร้อมกันกับบริษัทได้
โดยการประเมินมูลค่าบริษัทนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเพียงแต่บริษัทที่เป็นเจ้าของเท่านั้น แต่หากบริษัทได้มีการร่วมลงทุนในบริษัทหรือกิจการอื่น ๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน ทั้งนี้ภายหลังการประเมินมูลค่าบริษัทแล้ว ในแต่ละบริษัทนั้นก็มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป
วัตถุประสงค์ในการใช้งานมูลค่ายุติธรรมของบริษัทหรือมูลค่าบริษัท
1. เพื่อใช้สำหรับการควบรวมหรือซื้อขายของกิจการ/บริษัท (Merge and Acquisition)
2. เพื่อใช้สำหรับพิจารณาการตัดสินใจภายในของกิจการ/บริษัท (Making Decision)
3. เพื่อใช้สำหรับการขยายโอกาสทางธุรกิจเช่นการเปิดรับการลงทุนในลักษณะของการร่วมทุน (Joint Venture)
4. เพื่อใช้สำหรับการเพิ่มทุนของบริษัท
5. เพื่อใช้สำหรับการรายงานและแสดงมูลค่าที่แท้จริงของการดำเนินงานของธุรกิจภายใต้งบการเงินที่เป็นมาตรฐาน
6. เพื่อใช้สำหรับการพิจารณาทางการเงินอื่น ๆ
วัตถุประสงค์ในการใช้งานมูลค่ายุติธรรมของบริษัทหรือมูลค่าบริษัท
การประเมินมูลค่าบริษัทผ่านทางมูลค่ายุติธรรมนั้นสามารถทำได้หลายวิธีโดยขึ้นอยู่กับความพร้อม ข้อจำกัดและความเหมาะสมของหลักการหรือวิธีการ ดังนั้นหากบริษัทมีความประสงค์หรือต้องการทราบถึงมูลค่าของบริษัทผ่านมูลค่ายุติธรรม บริษัทสามารถอ้างอิงถึงหลักการหรือวิธีการประเมินมูลค่าบริษัท ได้จากตัวอย่างด้านล่าง
1. วิธีมูลค่าตามบัญชี (Book Value Approach)
2. วิธีอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (Price to Book Value Ratio Approach : P/BV)
3. วิธีประเมินโดยใช้อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น (Price to Earnings per Share Ratio Approach : P/E)
4. วิธีมูลค่าหุ้นตามราคาตลาด (Market Price Approach)
5. วิธีมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดสุทธิ (Discounted Cash Flow Approach)
6. วิธีกำไรคงเหลือ (Residual Income)
7. วิธีมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (Economic Value Added: EVA)
สรุปการประเมินมูลค่าบริษัท (Fair Value Valuation) นั้นสามารถพิจารณาผ่านทางมูลค่ายุติธรรม (Fair Value) ที่อ้างอิงจากข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ได้ อาทิ ข้อมูลสำคัญบนงบการเงิน ข้อมูลแผนการดำเนินกิจการในอนาคต ข้อมูลนโยบานการบริหารจัดการ เป็นต้น อีกทั้งการประเมินมูลค่าบริษัทนั้นยังไม่เพียงแต่ใช้สำหรับการซื้อขายหรือควบรวมกิจการเท่านั้น หากบริษัทต้องการพิจารณาถึงราคาทุนหรือมูลค่าของเงินลงทุนที่ได้ลงทุนในบริษัทอื่นไป การประเมินมูลค่าบริษัทผ่านมูลค่ายุติธรรมนั้นก็สามารถสะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าที่แท้จริงได้เช่นกัน
โดยบริษัท ABS มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการประเมินมูลค่าบริษัทผ่านทางมูลค่ายุติธรรม ซึ่งสามารถให้ความช่วยเหลือบริษัทตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญในการประเมิน วิเคราะห์ อธิบายวิธีการประเมินตลอดจนการตอบคำถามผู้สอบบัญชี ซึ่ง ABS จะอ้างอิงหลักการและวิธีการที่สอดคล้องกันกับมาตรฐานและหลักการดำเนินงานสากลเพื่อให้บริษัทสามารถมั่นใจได้ถึงผลลัพธ์และคุณภาพของการประเมิน