top of page

 

ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสำหรับลูกหนี้การค้า หรือ ECL ลูกหนี้ คือ?

การประเมินลูกหนี้การค้า หรือ ECL ลูกหนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นภายใต้ TFRS 9 / IFRS 9 คือ การพิจารณาถึง ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในรูปแบบของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss - ECL) ของ “ลูกหนี้การค้า (Account Receivable)” ที่ซึ่งปกติแล้วบริษัทจะมีการออกใบแจ้งหนี้และมีวันครบกำหนดชำระให้กับลูกหนี้ ถึงแม้ว่าประวัติของลูกหนี้ทุกคนจะไม่เคยเบี้ยวหนี้ก็ตาม แต่ก็ต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ด้วยเช่นกัน ถ้าสภาวะเศรษฐกิจหรือปัจจัยภายนอกเกิดความผันผวนขึ้นมา มันก็ไม่แน่ที่ลูกหนี้จะเบี้ยวหนี้ได้นั่นเอง โดยเครื่องมือทางการเงิน TFRS 9 อื่น ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับลูกหนี้การค้า เช่น เงินทดรองจ่าย เงินประกันผลงาน เงินที่รับรู้รายได้ล่วงหน้าตามความคืบหน้าของผลงาน ก็มีความจำเป็นต้องประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตด้วยเช่นกัน

ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสำหรับลูกหนี้การค้า หรือ ECL ลูกหนี้ เริ่มใช้เมื่อใด?

ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 หรือ TFRS 9 / IFRS 9 ได้มีการปรับเปลี่ยนมาตรฐานฉบับเดิมเพื่อลดช่องโหว่ที่มีอยู่ กล่าวคือให้มีการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิต หรือ ECL ก่อนเหตุการณ์นั้น ๆ จะเกิดขึ้น โดยมีผลบังคับกับบริษัทที่ใช้มาตรฐานบัญชีชุดใหญ่หรือกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Publicly Accountable Entities: PAEs) ตั้งแต่รอบบัญชี 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

การประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสำหรับลูกหนี้การค้า หรือ ECL ลูกหนี้ มีความสำคัญกับบริษัทอย่างไร?

การประเมินลูกหนี้การค้า หรือ ECL ลูกหนี้ นั้นมีผลสำคัญในการช่วยให้บริษัทสามารถการวางแผนการดำเนินกิจการในด้านต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น
1.    เพื่อให้บริษัทสามารถรับรู้สถานะและสะท้อนมูลค่าปัจจุบันของลูกหนี้ของบริษัทถือได้อย่างเหมาะสม
2.    เพื่อให้บริษัทสามารถปรับปรุงนโยบายและแบบแผนวิธีการป้องกันความเสี่ยงได้อย่างทันท่วงที โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ลูกหนี้เกิดความเสี่ยงที่มากขึ้นและก่อนที่เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเกิดขึ้น
3.    ช่วยให้งบการเงินของบริษัทมีความสม่ำเสมอและไม่ผันผวนมากจนเกินไปเมื่อเทียบกับการไม่มีการประเมินลูกหนี้การค้า หรือ ECL ลูกหนี้

บริษัทประเภทใดที่ควรทำการประเมินลูกหนี้การค้า หรือ ECL ลูกหนี้?

อันที่จริงแล้วไม่ว่าจะเป็นบริษัทแบบใดก็แล้วแต่ หากมีการตกลงทำสัญญาระหว่างกันนั้นก็ควรจะมีการพิจารณาผลขาดทุนด้านเครดิต และอยู่สถานะของเจ้าหนี้ (สินทรัพย์) โดยทั่วไปแล้วจะพบเห็นได้ทั่วไปคือ สัญญาซื้อ-ขายหรือการให้บริการกันระหว่างบริษัทหรือบุคคล หรือก็คือ สัญญาทางการค้า (ฝ่ายหนึ่งเป็นลูกหนี้และอีกฝ่ายเป็นเจ้าหนี้) เพราะทางเจ้าหนี้นั้นต้องแบกรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตหากลูกหนี้มีการผิดนัดชำระหรือเบี้ยวหนี้ออกไป ซึ่งเหตุการณ์นี้ไม่ได้จะเกิดเพียงแค่ลูกหนี้การค้าเท่านั้น แต่เงินทดรองจ่าย เงินประกันผลงาน เงินที่รับรู้รายได้ล่วงหน้าตามความคืบหน้าของผลงาน ก็เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ความเสี่ยงเช่นกันเนื่องจากคู่สัญญาที่บริษัทได้ตกลงกันเอาไว้นั้นก็ถูกรายงานหรือแสดงในสถานะของ ลูกหนี้การค้าหรือลูกหนี้ ดังนั้นบริษัทจึงมีสิทธิที่จะถูกลูกหนี้หรือคู่สัญญาผิดสัญญาได้เช่นกัน
ถึงแม้ว่าบริษัทไม่ใช้มาตรฐานบัญชีชุดใหญ่ก็ตาม แต่เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงและการเฝ้าระวังความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากลูกหนี้ การประเมินลูกหนี้การค้า หรือ ECL ลูกหนี้ นั้นก็ถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับการเฝ้าระวังได้เช่นกัน

การประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตสำหรับลูกหนี้การค้า หรือ ECL ลูกหนี้ มีวิธีการอย่างไร?

บริษัท  ABS มีความเชี่ยวชาญและความชำนาญในการประเมินลูกหนี้การค้า หรือ ECL ลูกหนี้ ภายใต้มาตรฐาน โดยทั่วไปนั้นการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตของลูกหนี้การค้า หรือ ECL ลูกหนี้ นั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี ยกตัวอย่างเช่น
1.    Transition Matrix Method
2.    Benchmarked Loss Rate (Credit Rating Method)
3.    Chain Ladder Method (เฉพาะ ABS)

สรุปการประเมินลูกหนี้การค้า หรือ ECL ลูกหนี้ นั้นมีจุดประสงค์หลักคือให้บริษัทสามารถวางแผนและทำความประเมินความเสี่ยงของบริษัทได้ผ่านผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น หรือ ECL โดยไม่จำเป็นว่าจะเป็นบริษัทที่ใช้มาตรฐานบัญชีชุดใหญ่ (PAEs) หรือมาตรฐานบัญชีชุดเล็ก (NPAEs) 
ซึ่งจากประสบการณ์ในการประเมินและการทำงานของทาง ABS เพื่อลดข้อจำกัดและช่องโหว่ของการประเมินโดยให้สามารถประเมินผลขาดทุนด้านเครดิต, ประเมินลูกหนี้การค้า, ECL ลูกหนี้ ได้ออกมาสอดคล้องกับนโยบายการดำเนินงานของบริษัทและสอดคล้องกับมาตรฐาน ทาง ABS อ้างอิงหลักการประเมินที่มีการศึกษาภายในของทาง ABS และนำมาประยุกต์ใช้กับบริษัทเพื่อส่งมอบผลลัพธ์ที่เหมาะสมกับบริษัทมากที่สุด หรือก็คือ “Chain Ladder Method”
ไม่เพียงแต่การพิจารณาในส่วนของสถิติในอดีตของบริษัทเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงข้อมูลที่บ่งบอกอนาคต (Forward - Looking Information) เกี่ยวกับโอกาสในการปฏิบัติผิดสัญญาของลูกหนี้การค้าด้วย เช่น อัตราการว่างงาน, อัตราการขยายตัวของ GDP, การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี เป็นต้น และจำเป็นต้องมีการปรับให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อการประมาณการค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดการณ์ที่เหมาะสม
เพียงเท่านี้สำรองผลขาดทุนด้านเครดิตของลูกหนี้การค้า หรือ ECL ลูกหนี้ นั้นก็สามารถที่จะสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงได้ออกมาอย่างเหมาะสมและเป็นไปตามเงื่อนไขและข้อกำหนดตามมาตรฐานแล้ว

TFRS9 ECL Accounts Receivable (AR) (ABS)
banner services 3-02.jpg
banner services 3-03.jpg
banner services 3-04.jpg
banner services 3-05.jpg
banner services 3-06.jpg
banner services 3-07.jpg
banner services 3-09.jpg
banner services 3-09.jpg
Clienstt-01.jpg
Clienstt-04.jpg

ลูกค้าของเรา

bottom of page