top of page
TFRS9 - ECL Debt Instruments (ABS)

ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสำหรับการลงทุนในตราสาร
ตราสารในทีนี้เราจะพูดถึงตราสารหนี้เป็นหลัก เนื่องจากตราสารทุนนั้นถือเป็นการลงทุนโดยเป็นการเจ้าของร่วมทำให้เมื่อการลงทุนนั้นได้รับผลกระทบ

ผู้ลงทุนในฐานะเจ้าของเงินลงทุนก็ได้รับผลไปด้วย แต่ตราสารหนี้เป็นการลงทุนโดยการให้ยืม ซึ่งตราสารหนี้ นั้นเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่ให้สิทธิการเป็น “เจ้าหนี้" แก่เจ้าของเงินลงทุน ซึ่งเจ้าของเงินลงทุนนั้นจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยอย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาและเงื่อนไขที่สัญญาได้กำหนดเอาไว้ โดยเมื่อถึงวันครบอายุตามที่กำหนดไว้ เจ้าของเงินลงทุนนั้นก็จะได้รับเงินต้นหรือเงินลงทุนในนั้นกลับมา ดังนั้นจึงพิจารณาในส่วนของตราสารหนี้เป็นหลัก ซึ่งตราสารหนี้นั้นสามารถจำแนกตามผู้ออกตราสารออกเป็น 2 ประเภทหลัก อันได้แก่
1.    ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล เช่น พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) ตั๋วเงินคลัง (Treasury Bill)) เป็นต้น
2.    ตราสารหนี้ที่ออกโดยเอกชน เช่น พันธบัตรเอกชน (Corporate Bond) หุ้นกู้ (Debenture) เป็นต้น


เมื่อบริษัทได้ลงทุนในตราสารหนี้ไม่ว่าจะเป็นที่ออกโดยรัฐบาลหรือเอกชนก็แล้วแต่ บริษัทมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของเงินที่ลงทุนไป ในกรณีที่คู่สัญญานั้นประสบปัญหาทางการเงินหรือได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แวดล้อมซึ่งส่งผลกระทบต่อการจ่ายชำระดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนคืนกลับมาให้บริษัท เท่ากับว่าบริษัทที่ได้ลงทุนในตราสารหนี้นั้น ๆ มีโอกาสที่จะไม่ได้รับเงินต้นหรือเงินลงทุนคืนกลับมาเมื่อครบกำหนดตามสัญญาที่ได้มีการตกลงกันเอาไว้
ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงและติดตามผลการดำเนินงานของกิจการที่ไปลงทุนนั้น จึงมีการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตสำหรับเงินลงทุนในตราสาร คือการสะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าที่บริษัทอาจไม่ได้รับกลับมาเมื่อวันครบกำหนดชำระ 


ทำไมบริษัทจึงจำเป็นต้องประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตสำหรับเงินลงทุนในตราสาร
อย่างที่รู้กันว่าเมื่อบริษัทได้ลงทุนในตราสารหนี้แล้วนั้น บริษัทจะถือเอกสิทธิเป็นเจ้าของเงินลงทุนนั้นในฐานะของเจ้าหนี้ หากลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายชำระหรือส่งคืนผลตอบแทนได้ตามที่กำหนดเอาไว้ในสัญญานั้นหมายความว่าเงินลงทุนที่บริษัทได้ลงทุนไปนั้นมีความเสี่ยงว่าจะไม่ได้รับคืนกลับมา โดยอาจจะเป็นแค่การชั่วคราวหรือตลอดอายุของสัญญาก็ได้
เพื่อให้บริษัทที่ได้ลงทุนในตราสารหนี้นั้น ๆ ได้รับรู้ถึงมูลค่าการลงทุนของตนเองอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์แวดล้อมและการดำเนินงานของตราสารหนี้ที่ได้ไปลงทุน บริษัทจึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงระดับความเสี่ยงของตราสารหนี้ที่บริษัทได้ไปลงทุนด้วยว่าตราสารหนี้นั้น ๆ มีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด โดยขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของผู้ขอเงินลงทุนว่าผู้ขอเงินลงทุนมีสภาพการดำเนินงานเป็นอย่างไร ได้รับผลกระทบจากสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่อาจทำให้ผู้ขอเงินลงทุนประสบปัญหาทางการเงิน จนเป็นเหตุให้เกิดการผิดเงื่อนไขการจ่ายชำระของสัญญาได้


อีกทั้งเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 หรือ TFRS 9 / IFRS 9 ที่ได้มีการปรับเปลี่ยนมาตรฐานฉบับเดิมเพื่อลดช่องโหว่ที่มีอยู่ กล่าวคือให้มีการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตก่อนเหตุการณ์นั้น ๆ จะเกิดขึ้น โดยมีผลบังคับกับบริษัทที่ใช้มาตรฐานบัญชีชุดใหญ่หรือกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Publicly Accountable Entities: PAEs) ตั้งแต่รอบบัญชี 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
โดยการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนั้นมีผลสำคัญทางการดำเนินกิจการของบริษัทในด้านต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น
1.    เพื่อให้บริษัทสามารถรับรู้สถานะและสะท้อนมูลค่าปัจจุบันของเครื่องมือทางการเงินที่บริษัทถืออยูได้อย่างเหมาะสม
2.    เพื่อให้บริษัทสามารถปรับปรุงนโยบายและแบบแผนวิธีการป้องกันความเสี่ยงได้อย่างทันท่วงที โดยไม่จำเป็นต้องรอให้เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเกิดขึ้น
3.    ช่วยให้งบการเงินของบริษัทมีความสม่ำเสมอและไม่ผันผวนมากจนเกินไปเมื่อเทียบกับการไม่มีการพิจารณาประเมินผลขาดทุนด้านเครดิต


วิธีการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตสำหรับเงินลงทุนในตราสาร
การประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตสำหรับเงินลงทุนในตราสาร คือ การประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตของตราสารหนี้ที่ลงทุนว่ามีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงไปจากวันที่รับรู้ครั้งแรกเมื่อเริ่มลงทุนหรือไม่ โดยการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิตจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ระดับตามหลัก Expected Credit Loss (ECL) หรือผลขาดทุนทางด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
1)    หากลูกหนี้ไม่มีการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างมีนัยสำคัญ (Performing Asset) เช่น ลูกหนี้ไม่เคยผิดนัดชำระเลย จะมีการตั้งเงินสำรองตามกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับภายใน 12 เดือน (12-month Expected Credit Losses)
2)    หากลูกหนี้มีความเสี่ยงการผิดนัดชำระสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (Under-performing Asset) จะต้องทำการตั้งสำรองโดยประเมินใหม่ตามอายุของตราสารนั้น ๆ แทน (Lifetime Expected Credit Losses)
3)    หากลูกหนี้ปฏิบัติผิดสัญญา (Non-performing Asset) มีประวัติการค้างชำระหรือผิดนัดชำระ กิจการจะตั้งสำรองเพิ่มตามสัดส่วน ความเสี่ยงที่สูงขึ้นและพิจารณากระแสเงินสดตามอายุของตราสารนั้น ๆ แทน (Lifetime Expected Credit Losses)

โดยสามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มหลัก คือปัจจัยในเชิงปริมาณ ได้แก่ อัตราส่วนสำคัญทางการเงิน และปัจจัยเชิงคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่จะกระทบการดำเนินงานของผู้ออกตราสารหนี้ อันดับความน่าเชื่อถือ ข้อมูลการคาดการณ์ในอนาคตอย่างสภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ การประเมินการเปลี่ยนแปลงความเสี่ยงด้านเครดิตจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ลงทุนเป็นสำคัญที่ต้องอธิบายให้ได้ว่าปัจจัยที่นำมาประกอบการวิเคราะห์มีความเหมาะสมและเชื่อถือได้ หรือก็คือยิ่งความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้น จะทำให้ต้องตั้งค่าเผื่อการด้อยค่ามากขึ้นด้วย และเมื่อทราบว่าความเสี่ยงด้านเครดิตอยู่ที่ระดับใด รวมถึงรู้ว่าจะต้องตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าเท่าไรแล้ว ก็จะสามารถประเมินการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยทางบัญชีได้


บริษัท ABS มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตของเงินลงทุนในตราสาร ซึ่งจะให้ความช่วยเหลือบริษัทตั้งแต่การกรอกข้อมูลสำคัญในการประเมิน อธิบายวิธีการประเมินและตอบคำถามผู้สอบบัญชี ซึ่ง ABS จะอ้างอิงหลักการและวิธีการที่สอดคล้องกันกับมาตรฐานในการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตที่เหมาะสมกับเครื่องมือทางการเงินของบริษัท 

banner services 3-01.jpg
banner services 3-02.jpg
banner services 3-03.jpg
banner services 3-05.jpg
banner services 3-06.jpg
banner services 3-07.jpg
banner services 3-09.jpg
banner services 3-09.jpg
Clienstt-01.jpg
Clienstt-04.jpg

ลูกค้าของเรา

bottom of page