top of page
TFRS9 - ECL General Approach (ABS)

ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสำหรับลูกหนี้สัญญาเงินกู้ทั่วไป
ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจที่มีลักษณะคล้ายกันกับสถาบันการเงิน อาทิ ธุรกิจการปล่อยสินเชื่อ สัญญาค้ำประกันทางการเงิน สัญญาเช่าซื้อ ฯลฯ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่มีความเสี่ยงในการดำเนินงานเช่นกัน เพราะหากบริษัทไม่สามารถเรียกเก็บยอดชำระหรือรายได้ได้ตามที่กำหนดเอาไว้ตามสัญญานั้น จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัททั้งในแง่ของการดำเนินงานและสภาพคล่องของบริษัทได้หากมีจำนวนสัญญาที่ความเสี่ยงจำนวนมาก


โดยผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสำหรับสัญญาเงินกู้ทั่วไปนั้นมีลักษณะคล้ายกันกับการทำธุรกิจหรือการดำเนินงานคล้ายกับสถาบันการเงินอย่างที่ได้บอกตอนต้น ดังนั้นการที่บริษัทจะทำการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตนี้จึงมีความซับซ้อนและยุ่งยากมากกว่าบริษัทอื่น อันเนื่องมาจากคุณภาพของคู่สัญญา คุณลักษณะทางสัญญา เกณฑ์การให้สินเชื่อ สินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ค้ำประกัน (ถ้ามี) ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้การพิจารณาจัดกลุ่มของสัญญาเงินกู้ทั่วไปนั้นไม่สามารถจัดกลุ่มได้เหมือนกันกับลูกหนี้ทางการค้า


ซึ่งบริษัทที่มีสัญญาเงินกู้ทั่วไปนั้นส่วนใหญ่จะใช้วิธีการประเมินแบบ General Approach (ส่วนใหญ่เป็นสถาบันการเงิน) ภายใต้ TFRS 9 / IFRS 9 โดยจะตั้งสำรองจากพฤติกรรมการชำระหนี้ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับตามหลัก Expected Credit Loss (ECL) หรือ ผลขาดทุนทางด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
1)    หากลูกหนี้ไม่มีการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างมีนัยสำคัญ (Performing Asset) เช่น ลูกหนี้ไม่เคยผิดนัดชำระเลย จะมีการตั้งเงินสำรองตามกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับภายใน 12 เดือน (12-month Expected Credit Losses)
2)    หากลูกหนี้มีความเสี่ยงการผิดนัดชำระสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (Under-performing Asset) จะต้องทำการตั้งสำรองโดยประเมินใหม่ตามอายุของตราสารนั้น ๆ แทน (Lifetime Expected Credit Losses)
3)    หากลูกหนี้ปฏิบัติผิดสัญญา (Non-performing Asset) มีประวัติการค้างชำระหรือผิดนัดชำระ กิจการจะตั้งสำรองเพิ่มตามสัดส่วน ความเสี่ยงที่สูงขึ้นและพิจารณากระแสเงินสดตามอายุของตราสารนั้น ๆ แทน (Lifetime Expected Credit Losses)


ทำไมบริษัทจึงจำเป็นต้องประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตสำหรับลูกหนี้สัญญาเงินกู้ทั่วไป
เช่นเดียวกันกับเครื่องมือทางการเงินชนิดอื่น ๆ สัญญาเงินกู้นั้นมีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน แต่ถ้าพูดกันในมุมมองของผู้ประเมินและประสบการณ์ที่ผ่านมานั้น ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของสัญญาเงินกู้นั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อบริษัท เพราะบริษัทหรือนักลงทุนเองสามารถวิเคราะห์ถึงสถานะของบริษัท การดำเนินงานและสภาพปัญหาของบริษัท ได้จากการพิจารณาในส่วนนี้ 
การตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss -ECL) (หรือจะเรียกว่า “ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ” หรือภาษาทั่วไปว่า “สำรองการโดนเบี้ยวหนี้” ก็ว่าได้) นั่นก็หมายความว่า อะไรก็ตามที่บริษัทมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ บริษัทจะต้องตั้งสำรองเผื่อการโดนเบี้ยวหนี้เอาไว้ด้วย
เพราะการที่บริษัทเป็นเจ้าหนี้แล้ว บริษัทก็จะมีการรับรู้รายได้ไว้ล่วงหน้า ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้รับเงินสดจริง ๆ และถ้าตั้ง “ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss - ECL)” เอาไว้ต่ำเกินไป ก็แปลว่าบริษัทรับรู้รายได้เกินความเป็นจริงไปนั่นเอง !


สรุปคือ “อะไรก็ตามที่รับรู้เป็นรายได้มาก่อนแล้วมีโอกาสสูญเสียในภายหลัง ก็ควรจะต้องตั้งเป็นเงินสำรอง ที่เรียกว่า ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss - ECL) เอาไว้ตอนนี้”
หมายเหตุ : การประเมินค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss - ECL) ใน TFRS 9 นี้ ก็คือ การตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ที่เราเรียกกันในสมัยก่อน


เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 หรือ TFRS 9 / IFRS 9 ที่ได้มีการปรับเปลี่ยนมาตรฐานฉบับเดิมเพื่อลดช่องโหว่ที่มีอยู่ กล่าวคือให้มีการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตก่อนเหตุการณ์นั้น ๆ จะเกิดขึ้น โดยมีผลบังคับกับบริษัทที่ใช้มาตรฐานบัญชีชุดใหญ่หรือกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Publicly Accountable Entities: PAEs) ตั้งแต่รอบบัญชี 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
โดยการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนั้นมีผลสำคัญทางการดำเนินกิจการของบริษัทในด้านต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น
1.    เพื่อให้บริษัทสามารถรับรู้สถานะและสะท้อนมูลค่าปัจจุบันของเครื่องมือทางการเงินที่บริษัทถืออยูได้อย่างเหมาะสม
2.    เพื่อให้บริษัทสามารถปรับปรุงนโยบายและแบบแผนวิธีการป้องกันความเสี่ยงได้อย่างทันท่วงที โดยไม่จำเป็นต้องรอให้เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเกิดขึ้น
3.    ช่วยให้งบการเงินของบริษัทมีความสม่ำเสมอและไม่ผันผวนมากจนเกินไปเมื่อเทียบกับการไม่มีการพิจารณาประเมินผลขาดทุนด้านเครดิต


วิธีการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตสำหรับลูกหนี้สัญญาเงินกู้ทั่วไป
การประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตสำหรับลูกหนี้สัญญาเงินกู้ทั่วไป บริษัทจำเป็นต้องพิจารณาการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตและเงื่อนไขการเปลี่ยนกลุ่มของสัญญา (Significant Increase in Credit Risk: SICR) ให้สอดคล้องกับคำนิยามของสินเชื่อด้อยค่าด้านเครดิตตามหลักการทั่วไปของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ซึ่งอาจพิจารณาจากตัวอย่างรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

 

 

 

 

 

 

ซึ่งการกำหนด SICR ที่เหมาะสมนั้นจะช่วยให้บริษัทตีกรอบความเสี่ยงของสัญญาได้อย่างเหมาะสม โดยการพิจารณาอาจจะเป็นการพิจารณาถึงปัจจัยเดี่ยวหรือปัจจัยรวมก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความต้องการของบริษัท ยิ่งถ้าบริษัทมีการกำหนดกรอบระดับความเสี่ยงที่ชัดเจนและเหมาะสมเท่าไหร่ ยิ่งทำให้บริษัทนั้นสามารถดำเนินงานและเฝ้าระวังได้เหมาะสมมากขึ้นเท่านั้น
การประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตของสัญญาเงินกู้ทั่วไปนั้นจะพิจารณา 4 องค์ประกอบหลักดังต่อไปนี้
1.    ยอดหนี้ค้างชำระที่มีโอกาสเกิดการผิดนัดชำระ (Exposure at Default: EAD)
2.    อัตราการผิดนัดชำระ (Probability of Default: PD)
3.    ร้อยละของการสูญเสีย (Loss Given Default: LGD)
4.    การคาดการณ์เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต (Forward-looking View)


บริษัท ABS มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการออกแบบ พัฒนา และสอบทานแบบจำลองการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตของสัญญาเงินกู้ยืมทั่วไป ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลไปจนถึงการให้คำแนะนำทางธุรกิจกับทางบริษัท ซึ่ง ABS จะอ้างอิงหลักการและวิธีการที่สอดคล้องกันกับมาตรฐานในการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตที่เหมาะสมกับบริษัท โดยจะมีการออกแบบและพัฒนาแบบจำลอง (Model) ให้เหมาะสมกับแต่ละบริษัท (Tailor Made) 

TFRS9 – ECL for General Approach.jpg
banner services 3-01.jpg
banner services 3-02.jpg
banner services 3-04.jpg
banner services 3-05.jpg
banner services 3-06.jpg
banner services 3-07.jpg
banner services 3-08.jpg
banner services 3-09.jpg
banner services 3-22.jpg
banner services 3-23.jpg
banner services 3-24.jpg
Clienstt-01.jpg
Clienstt-04.jpg

ลูกค้าของเรา

bottom of page