top of page
TFRS9 - ECL POCI Approach (ABS)

ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสำหรับบริษัทบริหารสินทรัพย์ 
โดยทั่วไปแล้วธุรกิจบริหารสินทรัพย์ คือ ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPLs) โดยการซื้อ NPLs จากธนาคารและสถาบันการเงินอื่น และนำมาบริหารจัดการด้วยการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้เพื่อให้ได้ข้อตกลงที่เป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่ายเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้และแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน และธุรกิจบริหารจัดการทรัพย์สินรอการขาย (NPAs) โดยช่วยฟื้นฟูอสังหาริมทรัพย์ที่มีศักยภาพให้เป็นสินค้าที่ได้มาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลาด โดยบริษัทบริหารสินทรัพย์จะทำหน้าที่รับซื้อหรือ รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงิน เพื่อช่วยให้สถาบันการเงินมีความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจหลักของตนเอง


ที่ผ่านมาบริษัทบริหารสินทรัพย์เองก็ประสบปัญหาไม่สามารถติดตามหนี้กลับได้ภายหลังการซื้อต่อมาจากธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น จึงเป็นที่มาและความจำเป็นต่อกลุ่มธุรกิจบริหารสินทรัพย์ให้ประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตาม TFRS 9 / IFRS 9 นั้น หรือก็คือ  Expected Credit Loss (ECL) ซึ่งสามารถเรียกเป็นภาษาทั่วไปได้ว่าเป็นการตั้งสำรองการโดนเบี้ยวหนี้ (หรือค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ) จากสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ซื้อมาจากธนาคารและสถาบันการเงินอื่นเช่นกัน เพื่อให้งบการเงินมีความเหมาะสมและสะท้อนภาพความเป็นจริงมากขึ้น และรายงานสถานการณ์ความเสี่ยงของบริษัทได้อย่างทันท่วงที ซึ่งถือได้ว่า ECL นั้นเป็นหนึ่งในเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงินที่แท้จริง โดยเฉพาะกับยุคเศรษฐกิจที่ผันผวนอยู่ตลอดเวลาอย่างนี้


ทำไมบริษัทจึงจำเป็นต้องประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตสำหรับบริษัทบริหารสินทรัพย์
ในหลายครั้งที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ไม่สามารถติดตามหนี้กลับได้ภายหลังการซื้อต่อมาจากธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจที่บริษัทได้ลงทุนไป และเพื่อเป็นการป้องกันและรับรู้เหตุการณ์ดังกล่าวเอาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นที่มาและความจำเป็นต่อกลุ่มธุรกิจบริหารสินทรัพย์ให้ประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น สำหรับการที่บริษัทบริหารสินทรัพย์มีการเปิดรับหรือซื้อ NPLs กลุ่มอื่นเข้ามาเพื่อบริหารต่อนั้นก็มีความเป็นไปได้ที่บริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น ๆ อาจจะไม่รับชำระเช่นเดียวกันกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงและการลดช่องโหว่ของการรับรู้ที่ช้าเกินไป บริษัทจึงควรพิจารณาผลขาดทุนด้านเครดิตนี้


ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 หรือ TFRS 9 / IFRS 9 ได้มีการปรับเปลี่ยนมาตรฐานฉบับเดิมเพื่อลดช่องโหว่ที่มีอยู่ กล่าวคือให้มีการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตก่อนเหตุการณ์นั้น ๆ จะเกิดขึ้น โดยมีผลบังคับกับบริษัทที่ใช้มาตรฐานบัญชีชุดใหญ่หรือกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Publicly Accountable Entities: PAEs) ตั้งแต่รอบบัญชี 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
โดยการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนั้นมีผลสำคัญทางการดำเนินกิจการของบริษัทในด้านต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น
1.    เพื่อให้บริษัทสามารถรับรู้สถานะและสะท้อนมูลค่าปัจจุบันของเครื่องมือทางการเงินที่บริษัทถืออยู่ได้อย่างเหมาะสม
2.    เพื่อให้บริษัทสามารถปรับปรุงนโยบายและแบบแผนวิธีการป้องกันความเสี่ยงได้อย่างทันท่วงที โดยไม่จำเป็นต้องรอให้เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเกิดขึ้น
3.    ช่วยให้งบการเงินของบริษัทมีความสม่ำเสมอและไม่ผันผวนมากจนเกินไปเมื่อเทียบกับการไม่มีการพิจารณาประเมินผลขาดทุนด้านเครดิต


วิธีการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตสำหรับบริษัทบริหารสินทรัพย์
การประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตสำหรับบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นต้องเริ่มตั้งแต่การพิจารณาการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตและเงื่อนไขการเปลี่ยนกลุ่มของสัญญา (Significant Increase in Credit Risk: SICR) ให้สอดคล้องกับคำนิยามของสินเชื่อด้อยค่าด้านเครดิตตามหลักการทั่วไปของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ซึ่งอาจพิจารณาจาก มูลค่าหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ค้ำประกัน อายุของสัญญา สถานะของสัญญา ฯลฯ ก่อน เพื่อให้สามารถตีกรอบความเสี่ยงของลูกหนี้หรือคู่สัญญาได้อย่างเหมาะสม


โดยที่การประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตสำหรับบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นจะมุ่งเน้นไปที่ มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับชำระคืนหรือมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน (Recoverable amount) จากสัญญานั้น ๆ เพราะโดยคุณลักษณะทั่วไปของสัญญาประเภทนี้นั้นถือเป็นสัญญาที่มีความเสี่ยงสูงเป็นทุนเดิม (NPLs จากที่ก่อนหน้า) บริษัทจึงจำเป็นต้องพิจารณาในส่วนของเงินได้รับคืนนี้เป็นพิเศษ พร้อมทั้งต้องมีการประเมินถึงอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงภายหลังการปรับความเสี่ยง (Credit-adjusted Effective Interest Rate: CEIR) อีกทั้งยังคงมีความจำเป็นที่ต้องมีการคาดการณ์ถึงสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต (Forward - looking Information) ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัทอีกด้วย


บริษัท ABS มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการออกแบบ พัฒนา และสอบทานแบบจำลองการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตของบริษัทบริหารสินทรัพย์ ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลไปจนถึงการให้คำแนะนำทางธุรกิจกับทางบริษัท ซึ่ง ABS จะอ้างอิงหลักการและวิธีการที่สอดคล้องกันกับมาตรฐานในการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตที่เหมาะสมกับธุรกิจบริหารสินทรัพย์ โดยจะมีการออกแบบและพัฒนาแบบจำลอง (Model) ให้เหมาะสมกับแต่ละบริษัท (Tailor Made) 

banner services 3-03.jpg
banner services 3-04.jpg
banner services 3-05.jpg
banner services 3-01.jpg
banner services 3-06.jpg
banner services 3-07.jpg
banner services 3-09.jpg
banner services 3-09.jpg
Clienstt-01.jpg
Clienstt-04.jpg

ลูกค้าของเรา

bottom of page