top of page

ความหมายของการควบรวมกิจการ (TFRS3) และนิยามของความสำเร็จทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป

Updated: Apr 11, 2023


ในโลกที่มีการก้าวหน้า พัฒนา เติบโต และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดอย่างในปัจจุบัน การทำธุรกิจเองก็จำเป็นต้องมีการปรับตัวให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน


ซึ่งความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจหรือความสำเร็จของธุรกิจนั้นได้มีความหลากหลายและเปลี่ยนไปจากเดิมที่ “ความสำเร็จของธุรกิจ คือ การที่ผู้ก่อตั้งหรือบริษัทนั้นสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางเอาไว้” แต่ในปัจจุบัน ความสำเร็จของธุรกิจมีนิยามที่แตกต่างไปจากเดิมแต่ยังคงไว้ซึ่งแก่นของธุรกิจ คือ “การที่บริษัทยังสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ในอนาคตโดยไม่หายไปจากกระแสของสังคม”


ดังนั้นเมื่อกระแสของสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปความสำเร็จของธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนตามย่อมทำให้เกิดวิธีการหรือการดำเนินธุรกิจในลักษณะใหม่ ๆ เกิดขึ้นไปด้วย อย่างการควบรวมกิจการหรือการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกิจการนั้นในอดีตอาจจะทำให้ผู้ประกอบการหรือนักลงทุนนั้นเกิดความไม่ยินดีหรือยินร้ายสักเท่าไหร่

แต่กลับกันในสังคมปัจจุบันการเข้าควบรวมกิจการก็เป็นอีกหนึ่งในกลยุทธ์ของการดำเนินธุรกิจที่อยู่ในกระแสสังคมสมัยนี้ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการหรือนักลงทุนที่มีความประสงค์ในการเข้าควบรวม ซื้อ หรือลงทุนในกิจการนั้น ๆ จำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบมากยิ่งขึ้นและที่ขาดไม่ได้คือการปฏิบัติตามระเบียบหรือมาตรฐานที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันอย่าง “มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 3 ว่าด้วยเรื่องของ การรวมธุรกิจ (International/Thai Financial Reporting Standard 3: IFRS/TFRS3)”


โดยภายในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับดังกล่าวนั้นได้มีการกำหนดหลักการและข้อกำหนดทางการเงินสำหรับผู้เข้าซื้อหรือลงทุนในกิจการนั้น ๆ ได้ปฏิบัติตาม ซึ่งมาตรฐานได้มีการกำหนดถึงนิยามของการควบรวมกิจการเอาไว้ว่า “รายการหรือเหตุการณ์อื่นใดซึ่งทำให้ผู้ซื้อได้อำนาจในการควบรวมหรือคุมธุรกิจ รายการซึ่งเป็นการควบรวมจริง “True Mergers” หรือเทียบเท่าการควบรวม “Mergers of Equals” ถือเป็นการควบรวมกิจการ”

ปัจจุบันตามอ้างอิงจาก TFRS3 ได้มีการกำหนดให้ต้องมีการบันทึกบัญชีโดยยึดจากการปันส่วนราคาซื้อ (Purchase Price Allocation: PPA) หลังจากเกิดการควบรวมกิจการขึ้น ซึ่งทางกิจการนั้นจำเป็นต้องวิเคราะห์และหามูลค่าของสินทรัพย์ที่มีตัวตน หนี้สิน และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เพื่อนำไปประกอบการบันทึกมูลค่าบัญชี ทั้งนี้หากคงเหลือส่วนต่างของ PPA เมื่อเทียบกับมูลค่าซื้อขายกิจการอยู่นั้นไม่สามารถระบุสินทรัพย์ในมูลค่าส่วนต่างดังกล่าวได้จึงจะพิจารณาให้มีการบันทึกเป็นค่าความนิยม (Goodwill) แทน


 

เขียนโดย อาจารย์ทอมมี่ (พิเชฐ)

FSA, FIA, FRM, FSAT, MBA, MScFE (Hons), B.Eng (Hons)


ขอสงวนสิทธิ์ของเนื้อหาในบทความ ไม่ให้นำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ ในเชิงพาณิชย์ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากทางบริษัท ABS เท่านั้น


440 views0 comments

Comments


bottom of page