จากบทความที่แล้ว เราได้พูดไปถึง “นิยามของความสำเร็จทางธุรกิจที่เปลี่ยนไปและความหมายของการควบรวมกิจการภายใต้ TFRS3” กันไปแล้ว วันนี้เราจะคุยกันเพิ่มเติมถึงเรื่องของการปันส่วนราคาซื้อ (Purchase Price Allocation: PPA) ว่าคืออะไรมีที่มาและความสำคัญต่อผู้ลงทุนหรือบริษัทที่เข้าซื้อกิจการอย่างไร
อ้างอิงจากสภาวิชาชีพบัญชี ได้มีการกำหนดและอธิบายถึงการปันส่วนราคาซื้อเอาไว้
โดยมีใจความสำคัญดังนี้
“เมื่อใดก็ตามที่บริษัทมีโอกาสเข้าซื้อหรือทำการควบรวมกิจการ โดยส่วนใหญ่นั้นจะพบว่าราคาที่ทำการซื้อขายจะมีมูลค่าที่สูงกว่าสินทรัพย์ที่ได้บันทึกตามมูลค่าทางบัญชี ซึ่งอาจมีสาเหตุจากมุมมองของทางผู้บริหารที่ได้มองถึงมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (Economic Value) จากปัจจัยภายนอกในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ทำให้มีค่ามากกว่าการสะท้อนถึงเฉพาะมูลค่าของกิจการที่วัดจากมูลค่าตามบัญชี (Book value) โดยส่วนเกินของราคาซื้อขายนั้น โดยปกติจะถูกเรียกว่า “ค่าความนิยม (Goodwill)” ที่ต้องมีการตัดออกจากบัญชีตามมาตรฐานบัญชีที่กำหนดไว้ และจำเป็นต้องมีการกำหนดให้ต้องมีการบันทึกบัญชีโดยยึดจากการปันส่วนราคาซื้อ (Purchase Price Allocation: PPA)
หลังจากเกิดการควบรวมกิจการขึ้น ซึ่งทางกิจการนั้นจำเป็นต้องวิเคราะห์และหามูลค่าของสินทรัพย์ที่มีตัวตน หนี้สิน และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เพื่อนำไปประกอบการบันทึกมูลค่าบัญชี ทั้งนี้หากคงเหลือส่วนต่างของ PPA เมื่อเทียบกับมูลค่าซื้อขายกิจการอยู่นั้นไม่สามารถระบุสินทรัพย์ในมูลค่าส่วนต่างดังกล่าวได้จึงจะพิจารณาให้มีการบันทึกเป็นค่าความนิยม (Goodwill) แทน”
โดยองค์ประกอบสำคัญสำหรับ PPA ที่ควรนำมาปรับปรุงให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน (Adjusted Book Value) ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
ดังนั้น ตามมาตรฐานบัญชีจึงมีการกำหนดข้อมูลที่ต้องเปิดเผยให้ผู้ใช้งบการเงิน ในการประเมินผลกระทบทางการเงินจากการรวมธุรกิจเพื่อให้เกิดวามยุติธรรมกับผู้ใช้งบการเงินให้มากที่สุด โดยอ้างอิงการปันส่วนราคาซื้อ (Purchase Price Allocation: PPA) ที่เป็นวิธีการรับรู้และวัดมูลค่าสินทรัพย์รวมไปถึงหนี้สินที่รับมาจากการควบรวมกิจการ โดยพิจารณาให้รับรู้ส่วนต่างจากราคาซื้อขายที่เกิดขึ้นเป็นค่าความนิยม (Goodwill) ซึ่งอาจเป็นกำไรจากการควบรวมกิจการ ถ้าหากมูลค่าที่วัดจากการปันส่วนราคาซื้อนั้นมีมูลค่าที่สูงกว่ามูลค่าการซื้อขายกิจการ
เขียนโดย อาจารย์ทอมมี่ (พิเชฐ)
FSA, FIA, FRM, FSAT, MBA, MScFE (Hons), B.Eng (Hons)
ขอสงวนสิทธิ์ของเนื้อหาในบทความ ไม่ให้นำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ ในเชิงพาณิชย์ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากทางบริษัท ABS เท่านั้น
Comentarios